วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Interactive Instruction: Creating Interactive Learning Environments Through Tomorrow’s Teachers

การจัดการเรียนการสอนที่เน้นการมีปฏิสัมพันธ์
การสร้างสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ที่มีการปฏิสัมพันธ์สำหรับครูในอนาคต
     เทคโนโลยีทางด้านการจัดการศึกษามีนวัตกรรมหลายด้าน  ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงวิธีการสอนและวิธีการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้และวิธีการสอนแบบมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันที่ดูเหมือนในชีวิตจริง คือการรวมกันระหว่างการสอนและการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์ที่สนับสนุนด้วยเครื่องมือเทคโนโลยี  การวางแผนระบบกับการเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตเพื่อจัดหาช่องทางสำหรับนักเรียนและครู คือ การสร้างสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์ นวัตกรรมในการช่วยให้บรรลุผลประกอบด้วย กระดานโต้ตอบและเครื่องมือWeb 2.0 หากประกอบด้วยสองสิ่งนี้ก็จะสามารถสร้างช่องทางการโต้ตอบทั่วโลก เปิดโอกาสให้ครูได้ใช้ความสามารถในการสอนในสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์

วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Seven Goals for the Design of Constructivist Learning Evnironments

เป้าหมายของการออกแบบสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้

     การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในปัจจุบัน  เป็นการจัดกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้  และพัฒนาความรู้ได้ตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพของตนเอง ในการจัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการสร้างกระบวนการเรียนรู้จึงเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้จึงเป็นส่วนที่ส่งผลต่อผู้เรียนในการสร้างองค์ความรู้ สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้หมายถึง สิ่งต่างๆ สภาพแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ตัวผู้เรียน ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม โดยจะส่งผลต่อผู้เรียนทั้งทางบวกและทางลบ และมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ในที่นี้ขอกล่าวถึงแนวความคิดของสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ หมายถึง  “place” สถานที่ เช่น ในห้องเรียน หรือ “space” พื้นที่ บริเวณที่เกิดการเรียนรู้ อาจเป็นสถานที่หรือสื่อการเรียนในระบบออนไลน์ก็ได้ รวมถึงต้องประกอบด้วย “learner” ผู้เรียน “setting and organize” การจัดเตรียมต่างๆ ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การออกแบบสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้จึงเป็นสิ่งสำคัญ

“What Is a Constructivist Learning Environment?”

อะไรคือสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์

          จากบทความ “What Is a Constructivist Learning Environment?” ในบทนำได้กล่าวถึงการทำความเข้าใจคำว่า “สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ตามแนวทางคอนสตรัคติวิสต์” ว่า “เป็นการจัดสภาพ” เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยผู้เรียนเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยความคิดนี้มีคุณค่าต่อการศึกษาในปัจจุบัน  ตามข้อคิดการแนะนำในการจัดการ เช่น เวลาและสถานที่ การเรียนรู้แต่ละคาบภายในพื้นที่ที่กำหนด  ควรจะอยู่ในช่วงเวลาประมาณ 50 นาที ผลลัพธ์ที่แสดงให้เห็นได้ เกิดจากการประมวลสารสนเทศของผู้เรียน  และผลของการเรียนรู้ผ่านโมเดลที่ออกแบบไว้  โดยระบบหรือกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอน  พัฒนาการของการจัดสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีนี้  จะแสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องกันระหว่างความรู้พื้นฐานที่ออกแบบ และมีแนวคิดว่าในการสอนของครูผู้สอนภายใต้ concept ของปรัชญาการศึกษาเดียวกัน รวมไปถึงวิธีการประเมินผล  ซึ่งแนวทางมักจะมีแนวโน้มในการให้ความสำคัญกับการจัดกิจกรรมตามสภาพจริง  ที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ความเข้าใจ  และพัฒนาทักษะต่างๆ ในบริบทที่มีความหมาย  แต่สิ่งที่ยังไม่ชัดเจนในการจัดสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้อีกอย่างหนึ่ง  ก็คือ นักออกแบบการสอนและผู้สอนมักจะคำนึงถึงประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของผู้เรียน ที่สามารถวัดออกมาเป็นระดับคะแนน หรือผลการเรียนที่มาจากการเรียนการสอน ที่มีการควบคุมดูแลอย่างเข้มงวด  มากกว่าการยืดหยุ่นในการเรียนรู้ของผู้เรียน  ซึ่งจะเกิดจากการจัดให้ผู้เรียนทำกิจกรรมการเรียนรู้ที่ดึงดูดใจ สามารถเข้าถึงสารสนเทศในวงกว้างได้ ด้วยสื่อและสิ่งพิมพ์ต่างๆ ที่เหมาะสม และได้รับการชี้แนะที่ดีจากครูซึ่งเปรียบเสมือนผู้แนะนำ หรือผู้ช่วยในการเรียนรู้ ดังนั้น แนวคิดของการจัดสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ จึงดูเหมือนว่าให้คำจำกัดความที่ยังคลุมเครือ  ไม่ใช่อะไรที่เป็นการจัดไว้อย่างเสร็จสรรพสมบูรณ์ตามแนวคิดแบบเดิม ความมีอิสระของผู้เรียนในการเลือกกลุ่มและสื่อ อาจทำให้เกิดปัญหาในห้องเรียน  อาจมีผลต่อมุมมองของครูและผู้สังเกตการณ์นอกห้องเรียนที่ยังไม่เข้าใจในระบบการจัดการเรียนรู้แบบนี้ ดังนั้นการออกแบบที่โยงเข้าถึงกรอบแนวคิด หลักการ ทฤษฎี จึงเป็นส่วนสำคัญในการช่วยเหลือนักออกแบบและผู้สอน เพื่อให้เกิดประโยชน์ไปยังผู้เรียนในการบรรลุตามเป้าหมายในการเรียนรู้

วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การจัดการศึกษากับเทคโนโลยี

     การจัดการศึกษาในปัจจุบันได้นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษมาใช้  เพื่อเพิ่มทางเลือกในการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อพัฒนาผู้เรียนในยุคโลกาภิวัฒน์ ให้มีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลและข่าวสาร รูปแบบวิธีการเรียนการสอนที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลมากขึ้น กระบวนการเรียนการสอนเปลี่ยนบทบาทของครูจากการเป็นผู้ให้ ผู้ถ่ายทอด มาเป็นผู้ออกแบบการศึกษา เพื่อพัฒนาคนที่มีความแตกต่างกัน วิถีทางการเรียนรู้เริ่มเข้าสู่ยุคแห่งการใช้ “ เทคโนโลยีเข้มข้น” ในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ หลายประเทศในภูมิภาคเอเชียรวมทั้งไทยเราเองเริ่มมีการนำนวัตกรรมใหม่ทางการเรียนการสอนเข้ามาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ โดยเฉพาะเทคโนโลยี “ อินเทอร์เน็ต”

วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เทคโนโลยีการศึกษา
     เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง การประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างมีระบบ เพื่อนํามาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน แก้ไขปัญหาและพัฒนาการศึกษาให้ก้าวหน้าต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มีความหมายไม่เพียงแต่เป็นวิทยาศาสตร์ทางธรรมชาติเท่านั้น แต่ยังรวมหมายถึงวิทยาศาสตร์ทางจิตวิทยาและศาสตร์ในการบริหารงานครอบคลุมทั้งด้านบริหารวิชาการและบริการดังนั้นในการนําเทคโนโลยี
ทางการศึกษามาปรับปรุงประสิทธิภาพในการศึกษาจึงครอบคลุม 3 ด้านคือ
1. เครื่องมืออุปกรณ์การสอนต่าง ๆ (Devices หรือ Hardware) เป็นการนําอุปกรณ์มาใช้ในการศึกษา
2. วัสดุ (Materials หรือ Solfware) เป็นการผลิตวัสดุการสอนแนวใหม่การนําเอาวัสดุการสอนมาใช้ตลอดจนการผลิตบทเรียนสําเร็จรูปในแบบต่างๆ
3. วิธีการและเทคนิค (Methods and Techniques) ได้แก้กระบวนการกิจกรรมต่างๆที่ประยุกต์มาใช้ในการศึกษาการนําเทคโนโลยีทางการศึกษามาใช้ในการจัดการศึกษานั้นจะยึดหลักการทั่วไปเหมือนการนํา
เทคโนโลยีไปใช้ในสาขาวิชาการอื่นๆ คือ
     - ประสิทธิภาพ (Efficiency) หมายความว่า เมื่อนําเอาเทคโนโลยีมาใช้แล้วทําให้เกิดการเรียนรู้ตามที่วางจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรมไว้ในแผนการสอน
     - ประสิทธิผล (Productivity) หลังจบกระบวนการเรียนการสอนแล้ว ผู้เรียนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้
     - ประหยัด (Economy) การที่จะนําเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน ต้องตระหนักถึงข้อนี้ในการเรียนการสอนถ้ามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดก็ย่อมถือว่าสามารถบริหารจัดการเกินคุ้มค่า

อ้างอิง
http://www.kmitl.ac.th/~kmeeting/CSC-KM-55/successtools/it-ed.pdf