อะไรคือสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
จากบทความ “What Is a
Constructivist Learning Environment?” ในบทนำได้กล่าวถึงการทำความเข้าใจคำว่า
“สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ตามแนวทางคอนสตรัคติวิสต์” ว่า “เป็นการจัดสภาพ” เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ของผู้เรียน
โดยผู้เรียนเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยความคิดนี้มีคุณค่าต่อการศึกษาในปัจจุบัน ตามข้อคิดการแนะนำในการจัดการ เช่น เวลาและสถานที่ การเรียนรู้แต่ละคาบภายในพื้นที่ที่กำหนด ควรจะอยู่ในช่วงเวลาประมาณ 50 นาที ผลลัพธ์ที่แสดงให้เห็นได้ เกิดจากการประมวลสารสนเทศของผู้เรียน และผลของการเรียนรู้ผ่านโมเดลที่ออกแบบไว้ โดยระบบหรือกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอน พัฒนาการของการจัดสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีนี้ จะแสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องกันระหว่างความรู้พื้นฐานที่ออกแบบ และมีแนวคิดว่าในการสอนของครูผู้สอนภายใต้ concept ของปรัชญาการศึกษาเดียวกัน รวมไปถึงวิธีการประเมินผล ซึ่งแนวทางมักจะมีแนวโน้มในการให้ความสำคัญกับการจัดกิจกรรมตามสภาพจริง ที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ความเข้าใจ และพัฒนาทักษะต่างๆ ในบริบทที่มีความหมาย แต่สิ่งที่ยังไม่ชัดเจนในการจัดสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้อีกอย่างหนึ่ง ก็คือ นักออกแบบการสอนและผู้สอนมักจะคำนึงถึงประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของผู้เรียน
ที่สามารถวัดออกมาเป็นระดับคะแนน หรือผลการเรียนที่มาจากการเรียนการสอน ที่มีการควบคุมดูแลอย่างเข้มงวด มากกว่าการยืดหยุ่นในการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งจะเกิดจากการจัดให้ผู้เรียนทำกิจกรรมการเรียนรู้ที่ดึงดูดใจ สามารถเข้าถึงสารสนเทศในวงกว้างได้
ด้วยสื่อและสิ่งพิมพ์ต่างๆ ที่เหมาะสม และได้รับการชี้แนะที่ดีจากครูซึ่งเปรียบเสมือนผู้แนะนำ
หรือผู้ช่วยในการเรียนรู้ ดังนั้น
แนวคิดของการจัดสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
จึงดูเหมือนว่าให้คำจำกัดความที่ยังคลุมเครือ ไม่ใช่อะไรที่เป็นการจัดไว้อย่างเสร็จสรรพสมบูรณ์ตามแนวคิดแบบเดิม
ความมีอิสระของผู้เรียนในการเลือกกลุ่มและสื่อ อาจทำให้เกิดปัญหาในห้องเรียน อาจมีผลต่อมุมมองของครูและผู้สังเกตการณ์นอกห้องเรียนที่ยังไม่เข้าใจในระบบการจัดการเรียนรู้แบบนี้
ดังนั้นการออกแบบที่โยงเข้าถึงกรอบแนวคิด หลักการ ทฤษฎี
จึงเป็นส่วนสำคัญในการช่วยเหลือนักออกแบบและผู้สอน เพื่อให้เกิดประโยชน์ไปยังผู้เรียนในการบรรลุตามเป้าหมายในการเรียนรู้
สภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
Constructivist Learning Environments (CLEs) ประกอบไปด้วย
- สถานที่ (place) เช่น ในห้องเรียน หรือ พื้นที่
(space) บริเวณที่เกิดการเรียนรู้
อาจเป็นสถานที่หรือสื่อออนไลน์ที่ทำให้การเรียนรู้ของผู้เรียนเกิดขึ้น
- ผู้เรียน (Learners) ถ้าห้องเรียนหรือพื้นที่ที่ไม่มีผู้เรียน
จะไม่ถือว่าเป็นการจัดสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ตามแนวทางของคอนสตรัคติวิสต์
- มีการจัดเตรียมสิ่งต่างๆ (Setting and organize) เพื่อเตรียมการให้ผู้เรียนได้ใช้ทำกิจกรรมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้
ซึ่งเป็นบริเวณที่จัดไว้สำหรับผู้เรียน คือ เครื่องมือ (Tools) และอุปกรณ์ (Devices) เช่นคอมพิวเตอร์
โปรแกรมซอฟแวร์ต่างๆ ในคอมพิวเตอร์ และระบบอินเทอร์เน็ต นอกจากนั้นยังต้องเกิดการปฏิบัติ
หรือการกระทำเพื่อการเสาะแสวงหาและเกิดการเรียนรู้
- ผู้เรียนจะต้องเกิดปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆ
จากองค์ประกอบของสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ การจัดระบบการเรียนรู้ เป็นกลุ่มผู้เรียน
จึงจัดเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้
ซึ่งผู้เรียนจะได้ทำงานร่วมกับผู้อื่นและช่วยเหลือกัน และได้ใช้เครื่องมือต่างๆ
ร่วมกัน เพื่อค้นหาความรู้ในแหล่งข้อมูล
ซึ่งเป็นการกระตุ้นผู้เรียนให้เข้าไปสู่เป้าหมายในการเรียนรู้และกิจกรรมการแก้ปัญหา
ซึ่ง Perkins
(1991) ได้เสนอแนะว่า ทุกๆ สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
จะประกอบด้วยห้องเรียนทั่วไปเป็นหลัก ซึ่งเป็นศูนย์ในการจัดตั้งสิ่งต่างๆ อย่างเป็นระบบ
เช่น
- Information banks (ธนาคารความรู้)
เช่น ตำรา สารานุกรม วีดิทัศน์ ครู ฯลฯ
- Symbol pads (แผ่นแสดงสัญลักษณ์)
เช่น กระดาน จอ สร้างขึ้นเพื่อรวบรวมสัญลักษณ์และภาษา
- Phenomenaria (ที่ตั้งหรือที่จัดไว้เป็นพิเศษ)
สำหรับการนำเสนอผลงาน หรือที่จัดไว้เฉพาะ
- Constructional kits (ชุดการสร้างความรู้)
เช่น โปรแกรมสำเร็จรูป
- Task managers (ผู้จัดการภารกิจ)
ดำเนินการโดยครู รวมไปถึงกิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียน
สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
ผู้เรียนจะกลายเป็นผู้ร่วมภารกิจกับผู้สอนที่เกิดขึ้นในห้องเรียน โดยถูกกำหนดว่า
การจัดสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ อย่างน้อยที่สุดที่ควรมี เช่น ธนาคารความรู้
และแผ่นแสดงสัญลักษณ์ จนถึงขั้นการจัดการอย่างสมบูรณ์ ซึ่งมีครบทุกอย่างในการจัดจึงจะถูกเรียกว่า
สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ โดยผู้สอนจะมีบทบาทในฐานะผู้ให้คำแนะนำ
และอำนวยความสะดวก
ครูจะให้ผู้เรียนเป็นอิสระในเนื้อหาและความก้าวหน้าของการเรียนรู้ ซึ่งการจัดสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้แบบเดิม
ผู้เรียนจะรู้สึกเหมือนถูกปล่อยทิ้ง ดังนั้นบทบาทของการจัดสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ที่ครบสมบูรณ์
จึงมีการจัดตั้งทั้งองค์ประกอบดังกล่าวไว้ในห้องเรียน ในส่วนของเนื้อหา
จะจัดประเภทเป็น 3 ประเภท คือ
- Computer Microworlds สนับสนุนในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
- Classroom-based learning environments
การจัดสิ่งแวดล้อมที่ใช้ห้องเรียนเป็นฐาน
ห้องเรียนเปรียบเสมือนเครื่องมือชนิดหนึ่ง ซึ่งทำให้เกิดกิจกรรมการเรียนการสอน
- Open, Virtual Environments การจัดสิ่งแวดล้อมเสมือนจริงแบบเปิด โดยใช้การจัดระบบอินเทอร์เน็ต
โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐาน และโปรแกรมประยุกต์ใช้งานต่างๆ
เปิดกว้างให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนอื่นๆ ส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนให้กว้างไกลออกไป
อ้างอิง
Brent G.Wilson.
(1996). What Is a Constructivist Learning Environment?. Pp. 3-8.
รูปภาพจาก
http://www.primaryeducation.sg/category/conducive-learning-environment/
รูปภาพจาก
http://www.primaryeducation.sg/category/conducive-learning-environment/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น