วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Interactive Instruction: Creating Interactive Learning Environments Through Tomorrow’s Teachers

การจัดการเรียนการสอนที่เน้นการมีปฏิสัมพันธ์
การสร้างสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ที่มีการปฏิสัมพันธ์สำหรับครูในอนาคต
     เทคโนโลยีทางด้านการจัดการศึกษามีนวัตกรรมหลายด้าน  ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงวิธีการสอนและวิธีการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้และวิธีการสอนแบบมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันที่ดูเหมือนในชีวิตจริง คือการรวมกันระหว่างการสอนและการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์ที่สนับสนุนด้วยเครื่องมือเทคโนโลยี  การวางแผนระบบกับการเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตเพื่อจัดหาช่องทางสำหรับนักเรียนและครู คือ การสร้างสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์ นวัตกรรมในการช่วยให้บรรลุผลประกอบด้วย กระดานโต้ตอบและเครื่องมือWeb 2.0 หากประกอบด้วยสองสิ่งนี้ก็จะสามารถสร้างช่องทางการโต้ตอบทั่วโลก เปิดโอกาสให้ครูได้ใช้ความสามารถในการสอนในสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์
Theoretical Framework (กรอบทฤษฎี)
          ความเหมือนกันของนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงการศึกษาเสมอคือ การเปลี่ยนแปลงของสถานที่ หลักสูตรใหม่ถูกแนะนำ และเทคโนโลยีใหม่ได้จำกัดความใหม่เกี่ยวกับว่าเราจะสอนและเรียนอย่างไร การใช้เทคโนโลยีในชั้นเรียนยังคงมีอยู่กับเครื่องมือเหล่านี้ เช่น โทรทัศน์และโปรเจ็กเตอร์
          ระบบที่เสนอการสร้างวิธีการสอนที่ดีกว่า  การเปลี่ยนแปลงประเภทของการบูรณาการเทคโนโลยีเพื่อเปลี่ยนวิธีการสอนและเรียนรู้ไปสู่สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์ ขอบข่ายถูกประยุกต์ไปยังรูปแบบการสอนใหม่ รู้เกี่ยวกับการสอนและเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์ การแสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องกับทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ฮาร์ดแวร์ที่สามารถโต้ตอบ และเครื่องมือ Web 2.0 ซึ่งรูปภาพข้างล่างนี้ จะแสดงถึงส่วนประกอบและการปฏิบัติการของครูและนักเรียน เค้าโครงนี้ยังถูกประยุกต์ไปยังระดับ k-12 และยืดหยุ่นสามารถรวมถึงเครื่องมือต่างๆ ด้วย เค้าโครงนี้ คือ การรวมกันของทฤษฎีการเรียนรู้และเครื่องมือที่รวมทั้งหลักคอนสตรัคติวิสต์ การสอนแบบมีปฏิสัมพันธ์ การเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์ เครื่องมือแบบมีปฏิสัมพันธ์ และการมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบระหว่างครูและนักเรียน
Constructivism (ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์)
          ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ประกอบด้วยการเรียนรู้หรือการสร้างความรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้นในการแสดงออกของสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์ของพวกเขา ซึ่งเกิดขึ้นภายในสิ่งแวดล้อมเหล่านั้น กระดานโต้ตอบเน้นแนวคิดพื้นฐานของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ นั่นก็คือ การมีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้น
Interactive Teaching (การสอนแบบโต้ตอบ)
          การสอนแบบมีปฏิสัมพันธ์เริ่มต้นจากปรัชญาเกี่ยวกับการสอนที่ใช้เทคโนโลยีและผลของวิธีการใหม่ในการเรียนการสอนแบบมีปฏิสัมพันธ์ ซึ่งรวมถึงทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ กระดานโต้ตอบ และเครื่องมือ Web 2.0 คือ 1 รูปแบบในการคิดเกี่ยวกับวิถีการสอนใหม่ ในกรอบนี้ทั้งครูและนักเรียนเป็นจุดศูนย์กลางในการลงมือปฏิบัติ โดยครูมีหน้าที่ในการวางแผน สอนและจัดลำดับการสนับสนุนให้โต้ตอบกับเทคโนโลยี นักเรียนมีหน้าที่ในการสร้างและชี้แจงความรู้เช่นเดียวกับการร่วมมือกับเพื่อนในการสร้างความรู้ขึ้นมา
Interactive Learning (การเรียนแบบโต้ตอบ)
          การเรียนแบบเก่า นักเรียนจะนั่งและรับเอาความรู้จากครูที่สอนและเขียนบนกระดาน การเรียนแบบมีปฏิสัมพันธ์จะหมายถึงการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้นในวิธีการเรียนรู้ ในสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้จะบูรณาการให้มีกระดานโต้ตอบ ผู้เรียนจะให้ความสำคัญกับการกระตุ้นให้แสดงออกโดยครูในกระดานโต้ตอบ เช่นเดียวกับทางคำพูดและทางกาย การมีปฏิกิริยากับกระดานโต้ตอบ
Interactive Tools (เครื่องมือในการโต้ตอบ)
          กระดานโต้ตอบ คล้ายกับอย่างที่รู้ คือกระดานดำอิเล็กทรอนิกส์ที่มีจอแสดงผลซึ่งมีผลิตภัณฑ์หลายขนาดโดยบริษัทแตกต่างกัน อย่างเช่น Sony Promethean และอื่นๆ กระดานโต้ตอบมี 2 การทำงานที่แตกต่างกัน คือ แสดงผลและการใช้โต้ตอบกัน ในส่วนของเครื่องมือแสดงผล ครูจะสามารถแสดงไฟล์เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง Software หรือ ทรัพยากรอินเทอร์เน็ต ซึ่งกระดานโต้ตอบนี้สามารถให้ผู้ใช้เขียนและจัดการสิ่งต่างๆ ที่ประกอบด้วยภาพและตัวหนังสือได้ โดยเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่าน USB และโปรเจ็กเตอร์ไปยังคอมพิวเตอร์ อีกทั้งมีข้อได้เปรียบว่าสามารถใช้ในห้องเรียนเพื่อการจัดการที่ยืดหยุ่นในการสื่อสารกับบทเรียน สนับสนุนนักเรียนให้โต้ตอบกับเนื้อหา จัดให้เห็นชัดเจนเกี่ยวกับกรอบแนวคิดของผู้เรียนได้ดีกว่า และมีแรงผลักดันให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากกว่า
          เครื่องมือ Web 2.0 จะเกี่ยวกับชุมชนสังคมและความสามารถในการมีส่วนร่วมไปยังการมีปฏิสัมพันธ์ใน Web based ผู้สนทนาใน Web 2.0 เช่น คนที่ใช้อินเทอร์เน็ตในการสืบค้น แสดงต่อสาธารณะ สร้างสรรค์ แสดงบทบาท และอื่นๆ เป็นต้น
Interactive Boards + Web 2.0 Tools (กระดานโต้ตอบและเครื่องมือweb 2.0)
          เป็นการเรียนรู้ไปกับเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 สำหรับการแสดงผลที่เป็นมาตรฐานสากลของนักเรียนและเทคโนโลยี
          การบูรณาการเทคโนโลยีทำให้เข้าใจว่าหลักสูตรวิธีการนั้นสนับสนุนการพัฒนาของการสอนหลักปรัชญาให้ดีขึ้นด้วยเทคโนโลยี  ในขณะที่เราสามารถและเลือกสนใจประสิทธิภาพของครูที่มีประสบการณ์ในการใช้การสอนแบบมีปฏิสัมพันธ์ที่สนับสนุนด้วยเครื่องมือทางเทคโนโลยี ทำให้วิเคราะห์ในกระบวนการเริ่มต้นกับนักศึกษาครู สถาบันการศึกษาเชื่อว่ามันเป็นความคิดที่ดีที่มีนักศึกษาฝึกสอนก่อนการควบคุมที่เกิดขึ้นจริงในห้องเรียนส่วนบุคคล ดูเหมือนว่าครูฝึกสอนต้องยึดความซับซ้อนในประสิทธิภาพของเทคโนโลยีที่มีปฏิสัมพันธ์ เป็นการสร้างการสอนที่มีปฏิสัมพันธ์และสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้สำหรับผู้เรียน มันเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะต้องมีทักษะการใช้เทคโนโลยี แต่ครูต้องคำนึงถึงมุมมองทางปัญญาที่ใช้เทคโนโลยีในการสอนและการสร้างแบบฝึกหัด คือผสมผสานเทคโนโลยีในวิธีการสอนด้วย
          กรอบแนวคิดของวิธีการและหลักสูตรพื้นฐานควรเน้นในด้านของเทคโนโลยี คือ การวางแผนที่ครบถ้วน การออกแบบ การจัดเตรียมอุปกรณ์ และการประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน หลักสูตรในอนาคตต้องมีเทคโนโลยีที่มีปฏิสัมพันธ์อยู่ หากครูฝึกสอนไม่เข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดของสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ที่มีปฏิสัมพันธ์แล้วละก็จะไม่สามารถพัฒนาไปเป็นครูในโรงเรียนได้ หลักสูตรเทคโนโลยีปกติควบคู่กับการผสมผสานหลักสูตรวิธีการเทคโนโลยีที่มีปฏิสัมพันธ์จะสร้างให้ครูได้เตรียมพร้อมจากห้องเรียนไปสู่สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ที่มีปฏิสัมพันธ์ ในทางนี้หลักสูตรการศึกษาจะสามารถเปลี่ยนครูในอนาคตไปสู่ห้องเรียนสิ่งแวดล้อมได้

อ้างอิง
Sessoms.D,(2008). Interactive instruction: Creating interactive learning environments through tommorow’s teachears. International Journal of Technology in Teaching and Learning, 4(2), 86-96.
รูปภาพจาก
http://taamkru.com/th/จากแท็บเล็ต-สู่เทคโนโลยีการศึกษา-ตอนที่2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น